Checklist คุณเก็บข้าวสาร “ผิด” อยู่หรือไม่!

0
5833

เคยหรือไม่? ข้าวที่เก็บไว้มีปัญหา จับตัวเป็นก้อนแข็งที่ก้นถุง สีเหลืองเก่าเร็ว มอดแมลงมากวนใจ และอื่นๆอีกมากมาย

ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเพราะ “คุณกำลังเก็บผิดวิธี” อยู่ก็เป็นได้

Checklist ที่จะช่วยคุณตรวจสอบว่า ข้าวที่เก็บไว้เก็บดีพอแล้วหรือยัง

หลักการจัดเก็บและรักษาข้าวเบื้องต้น คุณสามารถปรับใช้สำหรับคนขายข้าวและร้านอาหาร


1.#การจัดเก็บและรักษาข้าวสาร : เก็บในที่แห้ง หลีกเลี่ยงน้ำ ความชื้น  และแสงแดดจัด

ความชื้นนั้นมาได้จากทุกทาง ทั้งจากน้ำที่หกใส่ถุงข้าว ละอองฝนสาด และความชื้นที่มาจากพื้นดิน

ซึ่งเป็นตัวการหลัก ตัวสำคัญที่ทำให้ความเสียหาย เช่น เกิดราในข้าว ข้าวจับตัวเป็นก้อน ทั้งยังดึงดูดแมลงให้เข้ามาในถุงข้าวอีกด้วย

นอกจากนี้แสงแดดจัดเกินไปทำให้ข้าวเสียหาย แห้งกรอบ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเก่าเร็วขึ้น

Checklist 1: ตรวจสอบสถานที่เก็บว่ามีหลังคา กำแพง หรือสิ่งกำบังเพื่อป้องกันลมฝน แสงแดด และสิ่งรบกวนจากภายนอกหรือไม่ มีจุดไหนรั่วซึมหรือปกป้องไม่ทั่วถึงบ้าง

.

2.#การจัดเก็บและรักษาข้าวสาร : ดูแลบริเวณโดยรอบที่เก็บให้สะอาด เป็นระเบียบ

สิ่งของที่วางทับถมด้านข้าง อาจเป็นที่อยู่อาศัยของ มด หนู แมลงสาบ ตะขาบ และสัตว์อื่นๆ

สัตว์เหล่านี้นอกจากจะกัดทำลายข้าวและถุงข้าวแล้ว ยังอาจทำอันตรายต่อคนอีกด้วย

นอกจากนี้การจัดการรอบที่เก็บให้เป็นระเบียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

ยังช่วยทำให้การตรวจนับสต๊อกสินค้าผิดพลาดน้อยลง การเคลื่อนย้ายถุงข้าวง่ายคล่องตัวมากขึ้นอีกด้วย

Checklist 2: ตรวจสอบบริเวณโดยรอบ จัดเก็บให้เป็นระเบียบ ไม่กีดขวางทาง สิ่งไหนไม่ใช้เอาออกให้หมด อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้หนูแมลงมาอาศัย

.

3.#การจัดเก็บและรักษาข้าวสาร: ไม่ควร! วางข้าวพิงผนัง เรียงข้าวสูงเกินไป และวางข้าวสัมผัสพื้นโดยตรง

การวางถุงข้าวพิงผนังอาจทำให้เกิดความเสียหายได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

เหตุผลอยู่ตรงนี้ อ่านเพิ่ม รู้ยัง?…ว่าไม่ควรวางข้าวชิดติดผนัง

การเรียงข้าวสูงเกินไปอาจทำให้กองข้าวล้มเป็นอันตรายได้

เพื่อป้องกันการล้มเราควรใช้เทคนิค “เรียงถุงข้าวสลับนอน-ขวาง”

ใครสงสัยว่าเป็นยังไงนะ? ลองอ่านที่นี่ ทำไมต้องเรียงถุงข้าวสลับนอน-ขวาง?

สุดท้ายไม่ควรวางข้าวสารให้สัมผัสพื้นโดยตรงเพราะอาจเกิดความเสียหายจากน้ำ ความชื้นจากพื้น และสิ่งสกปรกติดถุงข้าว

จากที่กล่าวไปแล้วในข้อ1 ว่าความชื้นคือตัวการหลักในการทำให้เกิดความเสียหาย

เราป้องกันความชื้นที่มาจากอากาศด้านบนกันแล้ว

คราวนี้มาดูวิธีป้องกันความชื้นจากพื้นด้านล่างกันบ้าง อ่านต่อที่นี่ แผ่นรองนี้มีไว้ทำไมหนอ?

Checklist 3: ตรวจสอบว่าทำครบตามคำแนะนำหรือยัง เทคนิคนี้นอกจากจะช่วยให้กองข้าวดูเป็นระเบียบแล้ว ยังช่วยป้องกันอันตรายได้อีกด้วย

.

4.#การจัดเก็บและรักษาข้าวสาร : ไม่ควรเก็บสต๊อกข้าวไว้ขายนานเกินไป

ถึงแม้ว่าคุณจะทำการเก็บรักษาข้าวเป็นอย่างดี ทำตามทุกข้อที่กล่าวมาด้านบนแล้ว

แต่ข้าวสารนั้นก็มีอายุการเก็บรักษาที่ต้องคำนึงถึงอยู่

การเก็บสต๊อกข้าวไว้เป็นเวลานานก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่ข้าวจะเสื่อมคุณภาพ เสียหาย เช่น มอดในข้าว กลิ่นอับ ถุงข้าวฉีกขาด และอื่นๆ

จากประสบการณ์ของเรา ขอแนะนำว่า “ไม่ควรเก็บสต๊อกข้าวไว้นานเกิน 3 เดือน” ซึ่งเป็นระยะเวลาการเก็บที่เหมาะสมที่สุด

ให้ทยอยซื้อข้าวเป็นลอต ค่อยๆเติมสต๊อก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความเสียหาย

นอกจากนี้คุณยังจะได้ข้าวที่ใหม่ สะอาด ผ่านการสีสดบรรจุถุง มาขายให้ลูกค้าตลอดอีกด้วย

Checklist 4: ตรวจสอบข้าวในสต๊อก ข้าวชุดไหนมาก่อนหลัง ทยอยขายตามลำดับ

.

Checklist นี้ สามารถปรับใช้ได้ทั้งคนขายข้าว ร้านอาหาร และร้านขายสินค้าแห้งอื่นๆ

การจัดเก็บที่ดี เป็นอีกวิธีช่วยลดต้นทุน เพิ่มกำไร ให้คุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ


อ่านอะไรต่อดี

ข้าวมีกี่ชนิด? เริ่มรู้จักข้าวสาร ลักษณะ ชนิดข้าวยอดฮิตที่คุณต้องรู้

วิธีเลือกดูข้าวสารง่ายๆ ใครก็ทำได้ อ่านแล้วทำได้ทันที

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here